วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2557

“เม็ดบีท” กับสายชาร์จ iPhone ถนอมสายได้จริงหรือ?

 “เม็ดบีท” กับสายชาร์จ iPhone ถนอมสายได้จริงหรือ?
ช่วงนี้เดินไปไหนมาไหนจะเห็นว่ามีคนเอาเม็ดพลาสติกสีๆ มาคล้องครอบสายอุปกรณ์อย่างเช่น สาย USB ชาร์จของ iPhone หรือว่าสายหูฟัง Earpods ซึ่งช่วยให้มันมีสีสันแตกต่างจากคนอื่น แต่ว่าเริ่มมีกระแสออกมาว่ามันเป็นการช่วยถนอมให้สายมีอายุการใช้งานนานขึ้น แล้วความเป็นจริงแล้วมันเป็นแบบนั้นจริงๆ หรือ?

chun_li_8_bit

กระแส “เม็ดบีท” มาจากไหน?

เม็ดบีท (จริงๆ สะกดว่า Bead = บีด) เป็นลักษณะของเม็ดพลาสติกรูปทรงกระบอกขนาดจิ๋ว แรกๆ คนนิยมใช้สำหรับทำเป็นเครื่องประดับต่างๆ และเริ่มมีการดัดแปลงรูปทรงและวัสดุโดยการเอามาเรียงวางเป็นลักษณะของ Pixel Art (อารมณ์เหมือนภาพ 8 bit ยุคเกมฟามิคอม) แล้วใช้ความร้อนรีดให้พลาสติกละลายและติดเป็นเนื้อเดียวกัน
แต่แล้วช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เริ่มมีการดัดแปลงเอาเม็ดบีทมาร้อยครอบสาย USB ของ iPhone รวมไปถึงหูฟัง Earpods ให้มีสีสันสวยงามและดูเป็นแฟชั่น และในปัจจุบันกลายเป็นว่ากระแสการร้อยเม็ดบีทถูกโฆษณาโดยผู้ขายว่าเป็นการ “ถนอม” สาย ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมันไม่ใช่เลย
Screen

การหุ้มด้วยเม็ดบีทไม่ด้วยช่วยถนอมสายเลยแม้แต่น้อย

สาเหตุของการที่สาย USB ของ iPhone มักจะมีปัญหาเรื่องของการแตกชำรุดของปลอกหุ้มสายนั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากการหักงอหรือว่ากดทับ แต่จะเป็นเรื่องของอุณหภูมิสะสมซึ่งในการใช้งานนั้นบริเวณช่วงข้อต่อแจ็คกับ ตัวเครื่องจะเป็นจุดที่มีความร้อนมากที่สุดในการชาร์จ และเมื่อถูกความร้อนบ่อยๆ ก็มีโอกาสที่จะทำให้วัสดุหุ้มช่วงนั้นเสื่อมสภาพและแตกออกได้
เหตุที่ทำให้เกิดความร้อนสะสมที่สายเชื่อมต่อบริเวณนั้นก็คือ การเสียบเครื่องชาร์จและใช้งานไปด้วย เพราะจะมีกระแสไฟวิ่งเข้าอยู่ตลอดเวลา ยิ่งบางคนมีพฤติกรรมคือชาร์จแล้วนั่งเล่นเกมเป็นชั่วโมง ยิ่งเป็นการทำให้เกิดความร้อนจากการชาร์จเป็นเวลานาน นอกจากจะมีผลกับสายแล้วยังมีผลกับแบตเตอรี่ด้วย
ถ้าสังเกคว่านอกจากจุดที่ข้อต่อของสายชาร์จแล้ว จะไม่มีปัญหาเรื่องวัสดุหุ้มแตกจากการพับม้วนบิดงอเลย ดังนั้นการที่เอาเม็ดบีทมาร้อยหุ้มไว้เพื่อไม่ให้สายพันทับกัน จึงไม่ได้เป็นการช่วยถนอมสายเลยแม้แต่นิดเดียว
crash

การใส่เม็ดบีทมีผลทำให้ความร้อนสะสมบริเวณข้อต่อมากขึ้น?

ช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมาทางเว็บ Whatphone.tv ได้ มีการนำเสนอบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ ว่าเม็ดบีทอาจจะมีส่วนทำให้เกิดความร้อนของสายชาร์จเพิ่มขึ้น เรื่องนี้มีการแชร์ต่อกันในโลกออนไลน์และเกิดกระแสทั้งเห็นด้วยและต่อต้าน กัน แล้วความจริงแล้วเป็นอย่างไร จนต่อมาไม่นานเริ่มมีคนที่ใช้สายหุ้มด้วยเม็ดบีททำการแกะเม็ดออกปรากฎมีบางคนพบว่าสายช่วงข้อต่อนั้นละลายและแตกอยู่ดี
ส่วนตัวผมไม่ได้มีความรู้เรื่องทางด้านอิเลคทรอนิกส์หรือผลการสำรวจทดลองเรื่องนี้ แต่สิ่งหนึ่งที่อธิบายได้แน่นอนว่า“เม็ดบีทไม่มีประโยชน์อะไรเลยกับสาย USB ของ iPhone นอกจากความสวยงามและแฟชั่นเท่านั้น” เพราะเม็ดพลาสติกไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานแบบนี้ อย่างที่เกริ่นไว้ตอนแรกว่าเม็ดบีทคือวัสดุสำหรับงานฝีมือที่สุดท้ายผู้ผลิต เม็ดพลาสติกเหล่านี้ได้พลิกแพลงดัดแปลงให้มาใช้ประดับสาย USB ได้ แถมเม็ดพลาสติกแบบนี้ไม่ทนความร้อนและพร้อมที่จะละลายเมื่อได้รับอุณหภูมิ ที่สูงอยู่แล้ว
แน่นอนว่าผู้ผลิตเหล่านั้นไม่ได้มีทฤษฎีหรือทดลองว่าเม็ดบีทเมื่อเอามาร้อยกับสายแล้วมันจะช่วยถนอมสาย สิ่งเหล่านี้เกิดจาก “อุปทาน” ของพ่อค้าแม่ค้าที่นำมาขายและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเท่านั้นเอง
bead-iphone

การใช้สาย USB ที่ใส่เม็ดบีทจะเป็นอันตรายกับเครื่องหรือไม่?

ไม่สามารถฟันธงได้ว่ามันจะเกิดอันตรายได้หรือไม่ เพราะอย่างที่บอกไม่เคยมีคนทดสอบหรือทำวิจัยเรื่องนี้ แต่ที่แน่ๆ คือหากวันนึงเกิดมีเหตุการณ์เครื่อง iPhone ชาร์จไฟแล้วระเบิด หรือสายเกิดไฟลุกไหม้ขึ้นมา ทาง Apple จะไม่มีการรับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าสายชาร์จนั้นจะเป็นของแท้ก็ตาม เพราะว่า “คุณได้ทำการดัดแปลงอุปกรณ์และใช้งานผิดจากการใช้งานปกติที่ Apple กำหนดไว้” ข้อนี้เป็น Policy ที่ทุกผลิตภัณฑ์มีเอกสารระบุข้อกำหนดการรับประกับนอาไว้ชัดเจนไว้ชัดเจนอยู่ ในกล่องของโทรศัพท์ทุกเครื่อง เพียงแค่ว่าคุณไม่เคยสนใจเปิดอ่านมันเท่านั้นเอง…

ต่อให้มันถนอมสายได้ แต่จะไปแคร์ทำไมในเมื่อของมีปัญหาก็สามารถเคลมเปลี่ยนใหม่ได้!

สำหรับ iPhone การรับประกันสินค้าจะอยู่ที่ 1 ปีตั้งแต่วันแรกที่เครื่องทำการ Activate กับระบบ และการรับประกันนั้นครอบคลุมถึงอุปกรณ์ทุกอย่างที่อยู่ในกล่อง ไม่ว่าจะเป็นอแดปเตอร์ชาร์จ, สาย USB และหูฟัง Earpods หาการใช้งานเกิดมีปัญหาจากการใช้งานตามปกติ และการที่สายหุ้มแตกนี่ก็อยู่ในการรับประกันด้วย คุณสามารถนำไปเคลมเปลี่ยนที่ร้านที่คุณซื้อมาได้ โดยร้านจะทำการเช็คเลข Serial เครื่องของคุณว่ายังอยู่ในประกันหรือไม่ ถ้ายังอยู่ในประกันก็สามารถเปลี่ยนให้คุณได้เลย
แต่ว่าการรับประกันนี้จะใช้ได้เฉพาะกับเครื่องที่ซื้อกับทาง Apple Store หรือตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการเท่านั้น (iStudio และ Operator ทุกเจ้า) บรรดาเครื่องหิ้วนั้นหมดสิทธิ์ เพราะกำหนดสิทธิ์การรับประกันของ Apple จะไม่เป็นแบบ World Wide และแน่ใจว่าไม่มีร้านตู้ไหนในไทยใจดีเปลี่ยนสายใหม่ให้คุณอย่างแน่นอน
Screen
สุดท้ายที่จะฝากทุกคนก็คือ ข้อสรุปที่ว่าเม็ดบีทเป็นอันตรายทำให้สายพังหรือเปล่า แต่ที่ยืนยันได้อย่างแน่นอนก็คือ “มันไม่ได้ช่วยทำให้ถนอมรักษาให้สายมีอายุการใช้งานนานขึ้น” อย่างแน่นอน เพราะการเอาเม็ดบีทมาใส่นั้น มันเป็นเพียงแค่งานฝีมือ (Handicraft) เท่านั้น ไม่ได้มีการคิดค้นหรือพัฒนามาเพื่อแก้ปัญหาสายหุ้มแตกแต่อย่างใด
ถ้าคุณคิดว่าทำเพื่อแฟชั่นหรือความสวยงาม อันนี้เป็นความพึงพอใจของคุณเองซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ผิด แต่ถ้าคุณคิดว่าทำไปเพราะว่าอยากให้สายมันมีอายุการใช้งานที่นานขึ้น คุณโดนหลอกแล้วล่ะ!
สนับสนุนเนื้อหา: www.beartai.com
ติดตามข่าวความเคลื่อนไหวของเทคโนโลยีรอบโลกได้ที่นี่ >>> hitech.sanook.com

วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ถึงคิวข้าบ้าง !! iPad Air 2 มาพร้อมเซนเซอร์สแกนลายนิ้วมือ

ถึงคิวข้าบ้าง !!  มาพร้อมเซนเซอร์สแกนลายนิ้วมือ
ในขณะที่ความสนใจในผลิตภัณฑ์ใหม่ของ Apple ในปี 2014 จะโฟกัสไปที่ iPhone 6 เป็นส่วนใหญ่ แต่อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่อาจเปิดตัวในระยะเวลาไล่เลี่ยกันมีความเป็นไปได้ที่จะเป็น iPad Air 2
หลังจากภาพ iPhone 6 หลุดแบบรายวัน ล่าสุดถึงคิวภาพหลุกของ iPad Air 2 บ้างแล้ว โดยภาพชุดนี้แสดงจุดเด่นที่เพิ่มเติมเข้ามาตามความคาดหมายคือ Touch ID หรือเซนเซอร์สแกนลายนิ้วมือดังเช่น iPhone 5s ส่วนโครงสร้างภายนอกเมื่อในภาพรวมแล้วยังคล้ายคลึงกับเวอร์ชันแรก ซึ่งในความเห็นส่วนตัวเชื่อว่า Apple ยังยึดหลักการออกแบบและขนาดเหมือน iPad Air ตัวแรกส่วนโครงสร้างภายในอาจมีการเปลี่ยนแปลง อาทิ ชิปประมวลผลก็จะปรับมาใช้ A8, กล้องหน้าและกล้องหลังมีความละเอียดเพิ่มขึ้น ตลอดจนระบบปฏิบัติการ iOS 8 เป็นต้น
ทั้งนี้ iPad Air 2 จะเป็นหนึ่งในฮาร์ดแวร์รุ่นใหม่ที่เชื่อมั่นว่าจะเปิดตัวปลายปี 2014 นี้ ซึ่งน่าจะเป็นหลังจากการเปิดตัวiPhone 6 ไปแล้ว 1 เดือน ตามกรอบเวลาเดิมที่เคยปฏิบัติมาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา
ที่มา Phonearena
สนับสนุนเนื้อหา: Arip
ติดตามข่าวความเคลื่อนไหวของเทคโนโลยีรอบโลกได้ที่นี่ >>> hitech.sanook.com

วันอังคารที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ความเชื่อผิดๆ จอ Gorilla Glass แล้วไม่จำเป็นต้องติดฟิล์ม

ความเชื่อผิดๆ ที่ใช้สมาร์ทโฟน-แท็บเล็ต แล้วไม่จำเป็นต้องติดฟิล์ม
เชื่อได้เลยละครับว่าสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตสุดรักสุดหวงของเพื่อนๆ แต่ละคนก็ต่างมีราคาสูงๆทั้งนั้น ซึ่งสมาร์มโฟนและแท็บเล็ตราคาสูง(หรือไม่สูงหลายๆรุ่น)ก็มาพร้อมกระจกที่ครอบจอแสดงผลที่เค้าเคลมมาว่ากันรอยได้ และสุดทนทานอย่าง Gorilla Glass จึงทำให้หลายๆคนมั่นใจมากจนเลือกที่จะไม่ติดฟิลม์กันรอย แต่ก็ต้องพบกับรอยขนแมวหรือรอยขีดข่วนที่เกิดขึ้นมาแบบไม่ทันตั้งตัวซะอย่างงั้น แล้วรอยเหล่านั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไรบ้างละ? วันนี้ Notebookspec มีคำตอบครับ
Gorilla Glass แล้วไม่จำเป็นต้องติดฟิล์ม?
เพื่อนหลายๆท่านคงเคยผ่านตาหรือทดลองด้วยตัวเองกันมาบ้างแล้วว่า กระจกหน้าจอเป็น Gorilla Glass ที่ไม่ใส่ฟิลม์กันรอยเลย แล้วนำคัตเตอร์ หรือมีดสุดคมรวมไปถึงกุญแจรถต่างๆมาขูดขีดบนหน้าจอสมาร์ทโฟน Gorilla Glass ผลที่ออกมาคือเจ้าหน้าจอไม่เป็นอะไรเลย แต่สิ่งที่เพื่อนๆ หลายคนอาจจะเคยเจอก็คือเมื่อเผลอทำสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตตกลงไปในกองดินกองทรายแล้วก็หยิบขึ้นมาปัดฝุ่นด้วยผ้าหรือชายเสื้อก็ตามแต่ ผลที่ออกมาคือหน้าจอรอยขนแมวเพี๊ยบ!!!
แล้วมันเพราะอะไรกันละถึงทำให้ Gorilla Glass ที่แข็งแกร่งดั่งชัชช่าเป็นรอยไปได้??? นั่นก็เพราะเจ้ากระจก Gorilla Glass นั้นมีความแข็งแกร่งอยู่ที่ประมาณ 6.8 ตามสเกลของโมห์ ดังนั้นถ้ามีอะไรที่มีระดับความแข็งแกร่งมากกว่า 6.8 ขึ้นไปมาขูดขีดนั้นก็เกิดรอยได้นั่นเอง ยกตัวอย่างเช่นแร่ควอตซ์ , โทปาส , รันดัม หรือเพชร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแร่ควอตซ์ ที่เป็นแร่ที่พบมากที่สุดในโลกเป็นอันดับที่สองรองจาก เฟลด์สปาร์ ที่มีความแข็งอยู่ในระดับ 7 ซึ่งแข็งกว่า Gorilla Glass ที่แน่นอนว่าเจ้าควอตซ์ก็พบได้ในฝุ่นละอองที่มีอยู่ในอากาศ และอยู่ในทรายทำให้หน้าจอ Gorilla Glass เป็นรอยได้นั่นเอง ละครับ
Gorilla Glass ตกแล้วจอแตก?
ส่วนในเรื่องของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่ตกจากที่สูงหรือโดนของแข็งกระแทกแรงๆแล้วกระจกหน้าจอแตก หรือเป็นรอย นั้นก็ถือได้ว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะขนาดหน้าปัดนาฬิกาที่เป็น Sapphire สังเคราะห์ (ความแข็งอยู่ที่ ระดับ 9 ตามสเกลของโมห์) โดนกดหรือโดนกรีดก็ยังเป็นรอยได้ ส่วนเพชรตกยังแตกได้เช่นกัน ซึ่งอธิบายได้ดังนี้คือ Gorilla Glass กันรอยขีดขวนได้ก็จริง แต่มันไม่ได้กันแรงกดกระแทก หรือให้เข้าใจง่ายๆคือ แข็งแต่ไม่เหนียว นั่นเอง
อย่างไรก็ดีตัวกระจก Gorilla Glass ทั้งเวอร์ชั่นที่ 1 , 2 หรือ 3 นั้นก็มีความแตกต่างกันอยู่พอสมควรทีเดียวละครับซึ่งแน่นอนว่า Gorilla Glass 3 ก็จะมีความแข็งแรงมากที่สุดในตระกูลกระจกชนิดนี้ ณ ในช่วงเวลาปัจจุบัน เรียกได้ว่าพัฒนาแตกต่างไปถึงระดับโมเลกุลเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ดีถึงแม้จะมีความแข็งแรงแค่ไหนก็ยังพอจะมีจุดอ่อนอยู่เช่นกันละครับ
ดังนั้นผู้เขียนขอแนะนำเลยครับถ้าเพื่อนๆใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็บที่ใช้ Gorilla Glass หรือกระจกชนิดอื่นๆ ก็ควรที่จะติดฟิล์มกันรอยไว้ด้วยนะครับ เพราะเรื่องหน้าจอเป็นรอยนั้นเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อย โดยเฉพาะเมื่อเราเผลอครับผม ส่วนในเรื่องของรูปแบบฟิลม์กันรอยที่จะติดก็เลือกได้ตามลักษณะความชอบและความต้องการผู้ใช้ได้เลยนะครับไม่ว่าจะเป็น ฟิล์มใส ฟิล์มด้าน ฟิล์มกันกระแทก ฟิล์มกรองแสงสีผ้า ฟิม์ลกันรอยนิ้วมือ หรือฟิล์มชนิดอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งอย่างไรก็ดีเลือกให้เหมาะสมกับตัวเองโดยที่ราคาไม่สูงเกินไปจะดีที่สุดนะครับผม สวัสดีครับ
ข้อมูลจาก : wikipedia , phonecruncher , Whatphone
ขอบคุณเนื้อหา และภาพประกอบ
ติดตามข่าวความเคลื่อนไหวของเทคโนโลยีรอบโลกได้ที่นี่ >>> www.hitech.sanook.com