วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

รูปแบบโฆษณาที่นักโฆษณาจะซื้อได้เมื่อมี YouTube.co.th

ที่นักโฆษณาจะซื้อได้เมื่อมี YouTube.co.th
          ปกติทุกวันนี้เวลาเราซื้อโฆษณาใน YouTube นักวางแผนสื่อโฆษณาดิจิทัล ก็จะใช้ Google Display Network (GDN) เป็นตัวกลางในการซื้อโฆษณาครับ จะเป็นรูปแบบ Banner ขนาด Retangle 300×250 ที่อยู่ด้านข้างขวาของวิดีโอ หรือที่ขึ้นมาให้กวนใจเวลาดูวิดีโออยู่ขนาด 468×60 ซึ่งเป็นรูปแบบโฆษณาที่เราซื้อได้
          ส่วนรูปแบบหวือหวาแบบอื่นๆ ที่เราเห็นในโฆษราต่างประเทศนั้นเป็นรูปแบบที่เราซื้อไม่ได้ เหตุผลก็เพราะ YouTube ยังไม่เปิดการดีลโฆษณารูปแบบพิเศษในหลายโซนพื้นที่ ซึ่งไทยก็เป็นพื้นที่นั้น เพราะฉะนั้นเมื่อก่อนเราไม่มีโอกาสทำโฆษณาแบบหวือหวาได้เลยแม้จะมีตังค์ก็ตาม
          แต่ตอนนี้สามารถทำได้แล้วครับโฆษณารูปแบบต่างๆ ที่หวือหวา ที่ YouTube มีนักการตลาดชาวไทยสามารถซื้อไดแล้วเพราะการเปิด YouTube.co.th
โดยรูปแบบโฆษณาที่เปิดให้ซื้อได้แล้ว ใหญ่ๆ มีอยู่สามตัวครับ
YouTube Homepage Banner
          Banner ขนาดใหญ่หน้าแรกของ YouTube.co.th ซึ่งสามารถสร้างสรรค์รูปแบบได้หลากหลาย จะขยายหรือ Interactive ก็ได้
YouTube Instream (Video Pre-Roll Ad), Inslate Ads
          โฆษณาวิดีโอที่ขึ้นมาก่อนเล่นเนื้อหาวิดีโอจริงๆ ซึ่งเราเห็นบ่อยๆ ในต่างประเทศ ที่จะมีโฆษณาขึ้นมาก่อนและกด Skip ได้หากไม่สนใจวิดีโอโฆษณานั้น
YouTube Branded Channel
          การซื้อสิทธิพิเศษๆ แบบเหนือกว่า Channel ทั่วไป คือแบรนด์สามารถทำการ Cuztomize หน้าตาของ Channel โฆษณาให้หวือหวา และปรับแต่งได้ตามต้องการช่วยให้ลูกค้าสามารถมามีส่วนร่วมได้
          ลองดูรูปอธิบายเรื่องรูปแบบโฆษณา YouTube แบบเห็นภาพชัดๆ ได้จากตอนหนึ่งในรายการ DigitalMaster ด้านล่างได้เลยครับ
สนับสนุนเนื้อหา: www.digithun.com

ติดตามข่าวความเคลื่อนไหวของเทคโนโลยีรอบโลกได้ที่นี่ >>> hitech.sanook.com

วันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เช็คอย่างไรว่า Gmail ที่ใช้อยู่ ไม่ถูกแฮค ?

เช็คอย่างไรว่า Gmail ที่ใช้อยู่ ไม่ถูกแฮค ?
          หลังจากที่มีการค้นพบช่องโหว่ร้ายแรง ที่มีชื่อว่า Heartbleed ซึ่ง สามารถเข้าถึงรหัสผ่านตัวของผู้ใช้ออนไลน์ทั่วโลกได้ ผ่านทางเทคโนโลยี OpenSSL ทำให้หลายๆ เว็บไซต์ดัง ต่างตื่นตัวที่จะป้องกัน ช่องโหว่ ดังกล่าว ซึ่งทาง กูเกิล เอง ก็ได้ปรับปรุงระบบความปลอดภัยแบบใหม่ พร้อมกับยืนยันว่า ปลอดภัยจาก Heartbleed และบรรดาแฮกเกอร์อย่างแน่นอน แต่เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่า บริการจาก กูเกิล ที่เราใช้อยู่ อย่างเช่น Gmail ไม่ถูกแฮค วันนี้ กูเกิล เค้ามีคำตอบครับ
          โดยทางกูเกิลเผยว่า ถ้าหากมีการตรวจพบว่า มีบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตพยายามเข้าถึงบัญชีของผู้ใช้ บุคคลดังกล่าวจะต้องตอบคำถามเสียก่อน จึงจะสามารถลงชื่อเข้าใช้งานได้ โดยคำถามนี้จะให้ผู้ใช้ยืนยันข้อมูลประจำตัวก่อนที่จะสามารถลงชื่อเข้าใช้ ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อป้องกันการเข้าถึงบัญชีที่ไม่พึงประสงค์ ถึงแม้บุคคลนั้นจะมีชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านก็ตาม
          และเมื่อตรวจพบการลงชื่อเข้าใช้ที่น่าสงสัย ทาง กูเกิล จะส่งคำถามไปยังผู้ใช้ เช่น ส่งข้อความ SMS ที่มีรหัสยืนยันไปยังโทรศัพท์ของผู้ใช้ และให้ผู้ใช้ป้อนรหัสนี้ก่อน จากนั้น กูเกิลจะให้สิทธิ์เข้าถึงบัญชี ซึ่งจะช่วยลดโอกาสที่ผู้ใช้ที่ไม่ได้รับอนุญาตจะสามารถเข้าถึงบัญชีได้อย่าง มากทีเดียว
          เพียงแค่นี้ เราก็สามารถมั่นใจได้แล้วครับว่า Gmail ของเรา ไม่ถูกแฮคอย่างแน่นอน แต่ทางที่ดี อย่าตั้งรหัสผ่านที่สามารถเดาได้ง่าย หรือบอกรหัสผ่านให้กับผู้อื่น จะดีที่สุดครับ
รายละเอียดเพิ่มเติม : bgr.com
สนับสนุนเนื้อหา: www.techmoblog.com
ติดตามข่าวความเคลื่อนไหวของเทคโนโลยีรอบโลกได้ที่นี่ >>> hitech.sanook.com

วันอังคารที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

แนะฉลาดใช้ “สมาร์ทโฟน“ ไม่เปลืองเงิน-ลดเสี่ยงภัยไซเบอร์

แนะฉลาดใช้ สมาร์ทโฟน ไม่เปลืองเงิน-ลดเสี่ยงภัยไซเบอร์

          ปัจจุบันกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ของผู้คนในสังคม ยิ่งเมื่อเทคโนโลยีพัฒนาให้มือถือธรรมดาฉลาดขึ้น กลายเป็น สมาร์ทโฟน ความสามารถของอุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ใช่แค่รับสาย-โทร.เข้าโทร.ออก แต่เป็นช่องทางเข้าถึงอินเทอร์เน็ตโซเชียลเน็ตเวิร์ก แม้แต่เป็นธนาคารเคลื่อนที่ ขณะที่ฝั่งผู้ให้บริการอย่างค่ายมือถือต่าง ๆ ก็สรรหาบริการใหม่ ๆ มากระตุ้นความต้องการใช้งานของผู้บริโภคด้วยเงื่อนไขที่ซับซ้อนมากขึ้น
ผู้บริโภคยุคนี้จึงจำเป็นต้องรู้เท่าทัน ทั้งความฉลาดของอุปกรณ์ และสารพัดเงื่อนไขของโอเปอเรเตอร์
          สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ร่วมกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) และสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคสากล (Consumer International) จัดเสวนาในหัวข้อ การคุ้มครองผู้บริโภคในยุคดิจิทัล ขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้
          อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ นักวิชาการจาก Siam Intelligence Units กล่าวว่า ในอดีตบริการเสริมของโทรศัพท์มือถือคือการส่ง SMS, MMS, การดาวน์โหลดริงโทน และคอนเทนต์ต่าง ๆ แต่เมื่อโมบายอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้น ทำให้ผู้บริโภคสามารถใช้บริการกลุ่มนี้ได้ฟรี ๆ บรรดาโอเปอเรเตอร์จึงต้องหาลูกเล่นใหม่ ๆ มาทดแทน อาทิ การออกแพ็กเกจดาต้าแบบ Unlimited ที่มาพร้อม Limited Speed เช่น ให้บริการดาต้าที่ความเร็วสูงสุด 3 GB ถ้าใช้เกินเงื่อนไข (Fair Usage Policy) ความเร็วจะลดลงเหลือ 128 Kbps
          ส่วนบรรดาแพ็กเกจการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กต่าง ๆ ในราคา 15 บาทต่อวัน ถ้าอ่านเงื่อนไขการให้บริการแบบละเอียดจะพบว่า ราคานี้ต้องใช้งานผ่าน url คือ www.facebook.com เท่านั้น ถ้าไปใช้เฟซบุ๊กผ่านแอปพลิเคชั่นต้องจ่ายค่าบริการอินเทอร์เน็ตคิดเป็นนาทีด้วย หรือแพ็กเกจให้เล่นเกม Cookie Run ฟรีโดยไม่ต้องสมัครแพ็กเกจอินเทอร์เน็ต แต่มีเงื่อนไขว่าบริการฟรีนี้ไม่รวมการส่ง Notification ต่าง ๆ ที่ผ่านแอปพลิเคชั่นนี้ ฉะนั้น ถ้าผู้เล่นส่ง Notification ให้เพื่อนจะโดนคิดค่าบริการเป็นนาทีทันที
ขณะที่การซื้อของผ่านอินเทอร์เน็ต เช่น หนังสือ โดยใช้บัตรเครดิตจ่ายเงินผ่านแอปพลิเคชั่นก็มีความเสี่ยงที่จะโดนแฮกข้อมูล รวมไปถึงความปลอดภัยในการส่งข้อความผ่านแอปต่าง ๆ
          ด้าน ชยุตม์ สิงห์ธงธำรงกุล ผู้เชี่ยวชาญจาก ACIS Professional Center กล่าวว่าโมบายแพลตฟอร์มเป็นที่นิยมมากขึ้น บรรดาอาชญากรจึงพัฒนามัลแวร์ขึ้นมาโจมตี ทำให้เกิดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในระบบอย่างภัยไซเบอร์รูปแบบใหม่ คือ Euro Grabber ที่แฮกเกอร์ใช้แพลตฟอร์มบนโทรศัพท์มือถือขโมยข้อมูลและรหัสผ่านของผู้บริโภคแล้วนำไปขโมยเงินในบัญชีของธนาคารในยุโรปช่วงก่อนนี้ ซึ่งทางธนาคารไม่ยอมชดใช้ความเสียหายให้ และโยนว่าเป็นความผิดของผู้บริโภคเองที่ใช้แพลตฟอร์มบนโทรศัพท์มือถือ ทั้งการดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ จาก Play Store มาใช้งาน
          กูเกิลไม่ได้สกรีนการออกแพลตฟอร์มต่าง ๆ จนมีการส่งแอปปลอมเข้าไปใน Play Store ทำให้แฮกเกอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลทางการเงินของคนที่โหลดแอปปลอมไปใช้ได้ รวมถึงการดักจับ SMS ที่ทางธนาคารจะส่งรหัส OTP (One Time Password) ไปให้เจ้าของบัญชี เป็นการเจาะผ่านระบบรักษาความปลอดภัยแบบ 2 ชั้นของธนาคารไปได้ และแม้ใน App Store ก็มีการฟิชชิ่ง Apple ID ด้วย
          ในโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ก็มีกรณีนี้เหมือนกัน นักพัฒนา Line เองก็รู้ถึงปัญหานี้และพยายามปิดช่องโหว่มาตลอด เช่นเดียวกับการใช้ Free Wi-Fi ก็มีความเสี่ยง บรรดาอีเมล์หรือการจ่ายเงินออนไลน์พวกแฮกเกอร์ก็สามารถเข้าไปเจาะข้อมูลได้หมด ติดตามผู้บริโภคได้ทั่วโลกโดยที่ผู้บริโภคไม่รู้ตัว
          วิธีป้องกันตัวของผู้บริโภคคือ ต้องสร้างพาสเวิร์ดที่รัดกุม ไม่ใช้พวกวันเดือนปีเกิด ตัวเลขเรียง ๆ กัน และหมั่นเปลี่ยนรหัสบ่อย ๆ ที่สำคัญคือต้องปิดฟีเจอร์เชื่อมต่ออัตโนมัติ เพื่อไม่ให้สมาร์ทโฟนเชื่อมต่อกับ Wi-Fi ที่ไม่ได้ผ่านการตรวจสอบหรือแน่ใจว่าเป็น AccessPoint ที่ปลอดภัย เพราะปัจจุบันแฮกเกอร์ได้มีการสร้าง AccessPointปลอมเพื่อคอยดักข้อมูลของผู้ที่ใช้ Wi-Fi ในที่สาธารณะด้วย
และแม้ว่าภัยจากการใช้โทรศัพท์มือถือจะซับซ้อนขึ้นตามความสมาร์ทของโทรศัพท์แล้ว แต่ปัญหาดั้งเดิมสุดคลาสสิกก็ยังคงอยู่
ประชาชาติธุรกิจ ค้นข้อมูลจากกลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กสทช. พบว่าในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2557 นี้ มีเรื่องร้องเรียนเข้ามาถึง 281 เรื่อง แยกเป็นปัญหามาตรฐานการให้บริการ อาทิ อินเทอร์เน็ตช้าเกินไป สายหลุด 108 เรื่อง การคิดค่าบริการผิดพลาด 53 เรื่อง ปัญหาการยกเลิกบริการ 45 เรื่อง ปัญหาจากบริการเสริม 24 เรื่อง ที่เหลือเป็นประเด็นอื่น ๆ อาทิ การให้ข้อมูลไม่ถูกต้อง การกำหนดระยะเวลาใช้บริการ ฯลฯ
          ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า เกือบทุกปัญหาไม่ว่าจะเป็นบิลช็อก ค่าโทร.เกิน หรือข้อความกวนใจ ล้วนมีสาเหตุหลักมาจากการที่ผู้บริโภคได้ข้อมูลไม่ครบถ้วน หรือมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับวงเงินค่าใช้บริการ คิดว่าถ้าใช้เกินแล้วค่ายมือถือจะตัดบริการให้เอง รวมถึงความไม่รู้วิธีการเปิด-ปิดการใช้งานบนอุปกรณ์
          อย่างกรณีปัญหาบิลช็อกจากการนำโทรศัพท์ไปใช้งานในต่างประเทศ กสทช.ได้เปิดแคมเปญ ปิดเน็ตก่อนไปนอก ให้ผู้บริโภค กด *106# แล้วโทร.ออก เพื่อปิดการใช้งานอินเทอร์เน็ตในต่างประเทศ และได้พยายามกำชับผู้ประกอบการให้ความรู้แก่ผู้บริโภค
          เมื่อ มี.ค. กสทช.ได้คุยกับค่ายมือถือขอให้จำกัดวงเงินค่าบริการโรมมิ่ง แต่ทางเอไอเอสกับดีแทคแจ้งว่าทำไม่ได้ เพราะต้องเปลี่ยนโปรโตคอลในระบบซึ่งมีต้นทุนสูง ขณะที่ทรูได้รับประเด็นนี้ไปพิจารณา
          ส่วนปัญหาการสมัครบริการเสริมโดยไม่ตั้งใจหรือถูกเก็บเงินจาก SMS ขยะทั้งหลาย กสทช.เพิ่งร่วมกับโอเปอเรเตอร์เปิดบริการ กด *137 ยกเลิก SMS กวนใจ รวมถึงกำลังศึกษาปัญหาด้านคุณภาพบริการอื่น ๆ เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมประกาศ กสทช.เรื่องมาตรฐานและคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมประเภทเสียง ขณะเดียวกัน ยังติดตามเรื่องการคิดค่าบริการสูงเกินกว่านาทีละ 99 สตางค์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ด้วย
          ด้าน สารี อ๋องสมหวัง ประธานคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านโทรคมนาคม กล่าวว่า ผู้บริโภคกำลังเผชิญกับความท้าทายในการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่มีประสิทธิภาพ การรับเรื่องร้องเรียนที่ยุ่งยากซับซ้อน ผู้บริโภคเองไม่มีความรู้ด้านสิทธิ์ ขณะเดียวกัน ฝั่งผู้ประกอบการก็เลือกที่จะฟ้องศาลเพื่อเพิกถอนประกาศของ กสทช.มากกว่าจะปฏิบัติตาม
ติดตามข่าวความเคลื่อนไหวของเทคโนโลยีรอบโลกได้ที่นี่ >>> thaizones-hitech.blogspot.com

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ให้ตายสิ!! ทุ่มศัลยกรรมแปลงโฉม ถ่าย Selfie

ให้ตายสิ!! ทุ่มศัลยกรรมแปลงโฉม ถ่าย 

          วันนี้ทีมงาน Sanook! Hitech มีข่าวเกี่ยวกับ การถ่ายภาพ Selfie หรือการถ่ายรูปตัวเราเองด้วยตัวเอง ซึ่งตอนนั้นเป็นกระแสที่เกิดขึ้นแทบทุกมุมโลกเลยนะครับ สำหรับข่าวที่จะมานำเสนอเป็นข่าวที่เกี่ยวกับหญิงสาวคนหนึ่งที่ชื่อว่า  Triana Lavey ซึ่งเธออยากให้รูปลักษณ์ของเธอออกมาดูดียามเมื่อถ่าย Selfie ถึงขึ้นลงทุนเงินเพื่อทำศัลยกรรมให้ออกมาสวยเพอร์เฟคอย่างที่เธอต้องการกันเลยทีเดียว
          การถ่ายภาพตัวเองด้วยตัวเอง หรือเรียกสั้นๆว่า Selfie นั้นมันดุเหมือนเป็นพฤติกรรมที่ไร้สาระ แต่เชื่อไหมว่าวันๆหนึ่งมีภาพ Selfie ที่ถูกอัพลงบนสังคมออนไลน์เป็นล้านภาพทั่วโลก Triana Lavey นักการจัดการที่มีพรสวรรค์ ทำงานอยู่ในบริษัทประชาสัมพันธ์ใน Los Angeles กล่าวว่า การถ่ายภาพ Selfies นั้นมีข้อดีในการที่เราจะเห็น ใบหน้า ของตัวเองที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละวัน
          Lavey เชื่ออย่างยิ่งว่าการที่เขายอมจ่ายเงินกว่า $15,000 ในการทำศัลยกรรมพลาสติกนั้น จะทำให้ภาพ Selfie ของเขาสมบูรณ์แบบมากขึ้น ซึ่งใบหน้าที่เธอปราถนาก็คือ ใบหน้าที่เหมือนถูกตกแต่งด้วย Photoshop ในชีวิตจริง ที่เธอไม่เคยมี
          กรณีของเธอถูกบันทึกไว้บน ABC\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\'s Nightline เพื่อเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งเกี่ยวกับแนวโน้มที่ ผู้ชาย และ ผู้หญิง ทั่วโลกที่พร้อมจะทำศัลยกรรมพลาสติก เพื่อให้เขาสามารถถ่ายรูปตัวเองออกมาให้ดูดีที่สุด
          การทำศัลยกรรมพลาสติก ควรเป็นสิ่งสุดท้ายที่จะทำ หลังจากที่คุณพยายามควบคุมอาหารการกิน และการออกกำลังกายแล้ว คุณถึงพร้อมที่จะผ่าตัด Lavey กล่าวก่อนที่จะรับการผ่าตัดใบหน้าของเธอ
          ข้อมูลการทำศัลยกรรมส่วนหนึ่งให้กับ Lavey คือการเสริมคาง จมูก และตัดไขมันบางส่วนบนใบหน้าเพื่อเพิ่มความคมชัดให้กับแก้มของเธอ ซึ่งตอนแรกนั้นเธอแค่ต้องการเสริมคางเท่านั้น แต่แล้วเธอก็ทำอย่างอื่นเพิ่มเติมไปด้วย เพื่อให้ใบหน้าเธอออกมาดูดีตามที่เธอต้องการ
          ซึ่งเมื่อศัลยกรรมเสร็จแล้ว Lavey ก็มีความสุขกับผลลัพธ์ที่ได้ เธอมีความสุขกับใบหน้าใหม่ของเธอมากๆ และในภายหลังเธอยังทำ Botox อย่างสม่ำเสมออีกด้วย
          Lavey กล่าวว่า ในความจริงแล้วมีหลายแอพพลิเคชันที่ช่วยลบข้อบกพร่องต่างๆในภาพของคุณเองเพื่อให้ภาพของคุณดูดีที่สุด เพื่อต้องการให้ผู้อื่นสนใจ และเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับเรา ทำให้เรามีความคาดหวังที่อยากจะมีรูปลักษณ์ที่ดีมากขึ้น อย่างไรก็ตามเธอก็ค่อยไม่มั่นใจว่าใบหน้าใหม่ของเธอจะทำให้ภาพ Selfie ของเธออกมาดูดีเท่ากับภาพี่ผ่านการแต่งจากแอพพลิเคชันต่างๆ
          ตอนนี้ฉัมมีใบหน้าที่ฉันเคยคิดว่าฉันมี เธอกล่าวอย่างมีความสุข ฉันดูเหมือนตัวฉันเอง ไม่ไช่เหมือนสิ่งที่อยู่ในPhotoshop เกิดมาสวยก็ยังต้องได้รับความช่วยเหลือเล็กน้อยจาก ... เพื่อให้คุณดูดีมากขึ้น

ที่มา : news.softpedia
ติดตามข่าวความเคลื่อนไหวของเทคโนโลยีรอบโลกได้ที่นี่ >>>thaizones-hitech.blogspot.com